exployou-logo

แนะแนวการเลือกสาขาศึกษาระดับปริญญาตรี

โดย สถาบันแนะแนวการศึกษาและอาชีพ HMD

problem
  • คุณเป็นอย่างนี้หรือเปล่า

    1. มีความไม่แน่ใจ มีความสับสน กังวล มีความเครียด ในการที่จะเลือกสาขาการศึกษาเพื่อ Admission /Entrance

    2. ต้องการลดความเหนื่อยล้า ลดความสิ้นเปลืองเงินและเวลา ในการเตรียมตัว Admission/Entrance เช่น ลดการกวดวิชา/เรียนพิเศษ

    3. มีความคิดเห็นไม่ตรงกันกับผู้ปกครองในการเลือกสาขาศึกษา

    4. ต้องการมีความมั่นใจที่จะ Admission/Entrance ในสาขาที่ “ใช่” สำหรับตน

    5. ต้องการค้นพบตัวเอง อยากรู้ว่าจริงๆ แล้วตนมีความถนัดโดยธรรมชาติในการเรียน/ศึกษาสาขาอะไรบ้าง? แค่ไหน?

    6. อยากรู้ว่าจริงๆ แล้วตนมีบุคลิกภาพ (ลักษณะต่างๆ) อย่างไร? แค่ไหน? เหมาะกับสาขาอะไรบ้าง? แค่ไหน?

    7. อยากเรียนในสาขาศึกษาที่ตนมีความสุขในการเรียนและเรียนได้ดี

    8. อยากได้งานอาชีพที่ดีๆ อยากประสบความสำเร็จในการทำงาน และอยากค้นพบตนเอง

ความประทับใจจากผู้เคยเข้าโปรแกรมแนะแนว

ชื่อและชื่อสกุลสมมุติ แทนชื่อและชื่อสกุลจริง เพื่อปกปิดความเป็นส่วนตัว

feedback

อรนงค์ นันทวัส

เรียน ม. ปลาย สายวิทยาศาสตร์ ที่โรงเรียนที่มีชื่อเสียงทางภาคเหนือ ทางบ้านมีธุรกิจใหญ่และมีชื่อเสียงมากในการขายของฝาก (อาหาร) ให้นักท่องเที่ยว มีโรงงานผลิตอาหารเอง คุณพ่ออยากให้เรียนสาขาวิทยาศาสตร์การอาหาร (food sciences) เพื่อจะได้มาคุมโรงงาน แต่เมื่อมาเข้าโปรแกรมแนะแนวของสถาบันแนะแนวการศึกษาและอาชีพ HMD แล้ว จากผลการวิเคราะห์ ทำให้เห็นความถนัดในการเรียนและบุคลิกของตนอย่างชัดเจน ทำให้รู้ว่าไม่สอดคล้องกับสาขา food sciences เลย สถาบันแนะนำให้เลือกสาขาด้านการบริหารจัดการ คุณพ่อยังยืนยันจะให้เรียน food sciences อาจารย์ของสถาบันที่แนะแนวแนะนำให้ไปบอกคุณพ่อว่า การเรียนสาขา food sciences นั้น นอกจากจะเรียนไม่ได้ดีแล้ว ยังจะเป็นทุกข์มาก เพราะต้องเรียนวิชาที่ไม่ค่อยถนัดและไม่ชอบด้วย และถ้าจะพยายามเรียนจนจบ ก็เป็นแค่ผู้จัดการโรงงาน หากเรียนสาขาบริหารจัดการ จะมีความรู้ครอบคลุมที่จะมาบริหารกิจการของครอบครัวแทนคุณพ่อคุณแม่ ส่วนโรงงานก็จ้างคนที่จบ food sciences ที่เก่งๆ มาดูแล คุณพ่อเห็นด้วยจึงยินยอม สอบเข้าได้ที่คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในภาคโควต้าก่อนจบ ม.ปลาย มีความสนุกกับการเรียนด้านนี้ ปัจจุบันทำงานบริหารจัดการกิจการของครอบครัว

feedback

ปรัชญาพร ธนาคุณ

เรียน ม.ปลาย สายศิลป์ (คำนวณ) ที่โรงเรียนมีชื่อทางภาคเหนือ คุณพ่อทำงานที่ธนาคารแห่งประเทศไทย(แบงค์ชาติ) คุณพ่ออยากให้เรียนสาขาบัญชีหรือสาขาเศรษฐศาสตร์ เพื่อที่จะสอบเข้าทำงานที่เดียวกับคุณพ่อ ตนเองไม่รู้ว่าจะเลือกสาขาอะไร คุณพ่อพามาเข้าโปรแกรมแนะแนวของสถาบันแนะแนวการศึกษาและอาชีพ HMD สถาบันวิเคราะห์แล้วบอกว่า ไม่สอดคล้องกับสาขาการบัญชีและสาขาเศรษฐศาสตร์เลย และได้อธิบายข้อมูลผลการวิเคราะห์ให้คุณพ่อฟัง คุณพ่อยอมรับ สถาบันแนะนำให้เลือกสาขาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือสาขานิเทศศาสตร์ คุณพ่อและตัวเราเห็นด้วย สอบเข้าสาขาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ (ภาคภาษาอังกฤษ) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้ ต่อมาก็สอบชิงทุนการศึกษาของ ABAC สาขานิเทศสาสตร์ (การโฆษณา) ได้ ตัดสินใจเลือกรับทุนเรียนที่ ABAC มีความสุข สนุกกับการเรียนมาก และเรียนได้ดี หากไม่ได้เข้าโปรแกรมแนะแนวของสถาบัน คงจะมีความกดดันมากและอาจหลงทางได้ง่าย

feedback

เอกชัย เอื้ออารีย์

เรียนที่โรงเรียนนนานาชาติ คุณพ่อเป็นอาจารย์แพทย์ คุณแม่เป็นแพทย์ คุณพ่อคุณแม่วางแผนส่งไปเรียนต่อในมหาวิทยาลัยที่อังกฤษ เตรียมงบประมาณไว้ 3 ล้าน อาจารย์ที่ทำการวิเคราะห์และให้คำแนะแนวมารักษาตากับคุณแม่ ได้พูดคุยกันจึงได้เข้าโปรแกรมแนะแนวของสถาบัน ผลการวิเคราะห์หาความถนัดในการเรียนและแนวโน้มบุคลิกภาพ ทำให้คุณพ่อ คุณแม่ และตัวเราทึ่งมาก เพราะเห็นตัวตนอย่างชัดเจน อาจารย์แนะแนวให้เรียนสาขาการจัดการการตลาด ซึ่งตรงกับใจเรา แต่เราไม่ได้ให้ข้อมูลนี้กับอาจารย์ตั้งแต่ต้น อาจารย์แนะนำให้เรียนที่มหาวิทยาลัยอินเตอร์ในเมืองไทยไปก่อนจะดีกว่าโดยให้เหตุผลต่างๆ เมื่อจบแล้วค่อยไปเรียนปริญญาโทที่ต่างประเทศ คุณพ่อคุณแม่เห็นด้วย โชคดีที่ได้เข้าโปรแกรมนี้ ต่อมาคุณแม่ซึ่งเป็นประธานชมรมศิษย์เก่าของโรงเรียนที่คุณแม่จบมา เชิญอาจารย์ไปบรรยายให้นักเรียนฟังเรื่องวิธีการเลือกสาขาต่างๆ

feedback

อาทิตย์ อุทัยแสง

ก่อนจบ ม. ปลาย สายวิทยาศาสตร์ จากโรงเรียนประจำจังหวัดทางภาคใต้ ไม่รู้ว่าจะเลือกสาขาไหนดี เพราะมีคนแนะนำต่างๆ นานา คุณอาซึ่งเป็นติวเตอร์วิชาเคมีที่มีชื่อเสียงมากๆ ระดับประเทศ แนะนำให้เลือกสาขาเคมี คุณแม่พามาเข้าโปรแกรมแนะแนวของสถาบันแนะแนวการศึกษาและอาชีพ HMD สถาบันวิเคราะห์แล้ว แนะนำให้เรียนสาขาเคมีหรือสาขาที่ต้องศึกษาวิชาเคมี และใช้การคำนวณ (คณิตศาสตร์) ควบคู่กันไป เช่น สาขาวิศวกรรมเคมี สาขาเคมีวิศวกรรม สาขาวิศวกรรมปิโตรเคมี ตัดสินใจเลือกสาขาวิศวกรรมปิโตรเคมี สอบเข้าได้ที่มหาวิทยาลัยศิลปากร สนุกกับการเรียนมาก จบแล้วสนใจด้านสิ่งแวดล้อม จึงเรียนต่อปริญญาโทด้านสิ่งแวดล้อม ปัจจุบันจบแล้ว กำลังได้รับการทาบทามให้ทำงานวิจัยของมหาวิทยาลัยของรัฐทางภาคใต้ พร้อมกับรับทุนเรียนปริญญาเอกไปด้วย

feedback

ตีรณ อุดมพานิช

เรียน ม. ปลาย สายวิทยาศาสตร์ ที่โรงเรียนบดินทร์เดชา 1 ตอนแรกคิดจะเรียนสาขาวิศวกรรมอุตสาหการ คุณพ่อพามาเข้าโปรแกรมแนะแนวที่สถาบันแนะแนวการศึกษาและอาชีพ HMD สถาบันวิเคราะห์แล้ว แนะนำให้เรียนสาขาวิศวกรรมโยธา จะสอดคล้องกับความถนัดในการเรียนและบุคลิกภาพมากกว่า ตัดสินใจเลือกสาขาวิศวกรรมโยธาตามคำแนะนำของสถาบัน สอบเข้าได้ที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีความสนุกกับการเรียนมาก ตอนเรียนปีสุดท้าย ได้รับการคัดเลือกให้เข้าทำงานที่บริษัทของเครือ SCG (เดิมคือ เครือซีเมนต์ไทย) เมื่อจบ ปัจจุบันทำงานที่บริษัทของเครือ SCG มีความสุข สนุกกับงานมาก มีความก้าวหน้าในงานด้วยดี

feedback

บรรเจิด เจริญดี

ก่อนจบ ม. ปลาย สายวิทยาศาสตร์ จากโรงเรียนที่มีชื่อเสียงมากทางภาคเหนือด้วยผลการเรียนอันดับต้นๆ ของชั้น เดิมตั้งใจอย่างแน่วแน่จะเลือกสาขาเศรษฐศาสตร์ ตามคำแนะนำของรุ่นพี่ที่กำลังเรียนสาขาเศรษฐศาสตร์อยู่ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คุณแม่และคุณตาอยากให้เรียนแพทยศาสตร์ ส่วนคุณพ่ออยากให้เรียนวิศวกรรมศาสตร์หรือการบัญชี ความเห็นที่ไม่ตรงกัน ทำให้ทุกคนไม่ค่อยสบายใจ โชคดีที่ได้เข้าโปรแกรมแนะแนวของสถาบันแนะแนวการศึกษาและอาชีพ HMD ทำให้เห็นความถนัดในการเรียนและแนวโน้มบุคลิกภาพของตนเองอย่างชัดเจน สถาบันแนะแนวฯ HMD แนะนำให้เลือกสาขาคณิตศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ หรือสาขาที่ใช้ความถนัดด้านคณิตศาสตร์และฟิสิกส์มากๆ เพราะสอดคล้องมากกับความถนัดในการเรียน และสอดคล้องกับแนวโน้มบุคลิกภาพของตนเอง ตัดสินใจเลือกสาขาวิศวกรรมศาสตร์ สอบเข้าได้ที่สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร (SIIT) ในอันดับต้นๆ ได้รับทุนเรียนฟรีตลอดหลักสูตร เลือกเรียนสาขาวิศวกรรมไฟฟ้า จบแล้วได้รับทุนเรียนต่อปริญญาโทและปริญญาเอกที่ญี่ปุ่น HAPPY กับการเรียนมากๆ จบปริญญาเอกแล้ว ปัจจุบันทำงานที่เมืองไทย เงินเดือนเริ่มต้น 6 หลัก (หลักที่ 1 มากกว่าเลข 1) การเข้าโปรแกรมแนะแนวฯ ของสถาบันแนะแนวฯ HMD คุ้มค่ามากๆ หากไม่ได้เข้าโปรแกรมแนะแนว คงเลือกสาขาที่ไม่สอดคล้องกับตนเอง และคงจะเสียเวลา เสียจังหวะชีวิต และเสียเงินไม่น้อย ที่สำคัญ คือ หาก Admissionใหม่ ก็ยังไม่รู้ว่าเลือกสาขาที่ใช่สำหรับตนหรือไม่

feedback

ลักษมี ชอบความงาม

เรียน ม. ปลาย (bilingual) โรงเรียนของรัฐที่มีชื่อเสียงในกรุงเทพฯ ไม่แน่ใจว่าจะเลือก Admission สาขาไหน คุณแม่พามาเข้าโปรแกรมแนะแนวของสถาบันแนะแนวการศึกษาและอาชีพ HMD ดูรายงานผลการวิเคราะห์หาความถนัดในการเรียนและบุคลิกภาพของตนแล้ว ชัดเจนตรงกับตนทุกอย่าง คุณแม่และเราเห็นแล้วทึ่งมากสถาบันแนะนำให้เลือกสาขานิเทศศิลป์ (Graphic Design) หรือสาขาสถาปัตยกรรมศาสตร์ แต่สาขานิเทศศิลป์จะสอดคล้องมากกว่า ตัดสินใจเลือกสาขาสถาปัตยกรรมศาสตร์ สอบเข้าได้ที่มหาวิทยาลัยศิลปากร ก็สนุกกับการเรียน เมื่อใกล้จบรู้สึกตนเองถนัดและชอบการออกแบบในเชิงรายละเอียดและความสวยงามมากกว่า ซึ่งน่าจะเป็นด้านนิเทศศิลป์ตามที่สถาบันแนะนำ จบแล้วเลือกทำงานด้าน lighting design รู้สึกว่าสนุกและทำได้ดี

feedback

พลอยรุ้ง สินรุ่งเรือง

เรียน ม. ปลาย สายวิทยาศาสตร์ ที่โรงเรียนประจำอำเภอทางตะวันออก มีความเครียดทั้งคุณแม่และตัวเรา เพราะไม่รู้ว่าจะเลือกสาขาอะไร เพราะมีความถนัดทั้งวิชาภาษาไทย วิชาสังคมศึกษา และวิชาศิลปการแสดง ส่วนวิชาทางวิทยาศาตร์ก็ถนัด ยกเว้นวิชาคณิตศาสตร์และฟิสิกส์ที่มีความถนัดไม่มากนัก ได้ไปเข้าแนะแนวที่สถาบันแนะแนวการศึกษาและอาชีพ HMD สถาบันวิเคราะห์แล้ว เห็นตัวตนอย่างชัดเจนทั้งด้านความถนัดในการเรียนและบุคลิกภาพ สถาบันแนะนำให้เลือกสาขาภาษาไทย ประวัติศาสตร์ นิเทศศาสตร์ นิเทศศิลป์ หรือสาขาด้านการแพทย์การสาธารณสุขที่ไม่เน้นการคำนวณมากๆ เช่น พยาบาลศาสตร์ เทคนิคการแพทย์ สาธารณสุขศาสตร์ ตัดสินใจเลือกสาขาพยาบาลศาสตร์ สอบตรงเข้าได้ที่คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มีความสุขกับการเรียนมากและเรียนได้ดีมาก ตอนอยู่ชั้นปีที่ 4 (ปีสุดท้าย) ได้ทุนไปดูงานที่ประเทศออสเตรเลีย คิดว่าโปรแกรมแนะแนวนี้ดีจริงๆ

จบการศึกษาระดับปริญญาตรี (เกียรตินิยมอันดับ 2) ได้รับการบรรจุเป็นอาจารย์ที่คณะที่จบ และได้รับทุนจากมูลนิธิสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ในความดูแลของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ไปศึกษาต่อระดับปริญญาโท ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา

feedback

ปรัชญา กัลยากูล

ตอนเรียนอยู่ชั้น ม. 5 สายศิลป์ (ภาษาอังกฤษ) ที่โรงเรียนประจำจังหวัดทางภาคตะวันออก รู้สึกสับสนมากว่าจะเลือกสาขาอะไร เมื่อถึงเวลา Admission เข้ามหาวิทยาลัย เครียดมาก ไม่เป็นอันเรียน โชคดีมากที่คุณพ่อคุณแม่รู้ว่ามีสถาบันที่ให้คำแนะแนวเรื่องนี้ จึงพามาที่สถาบันแนะแนวการศึกษาและอาชีพ HMD สถาบันวิเคราะห์แล้ว ทำให้เห็นความถนัดในการเรียนและบุคลิกภาพของตัวเองอย่างชัดเจน คุณพ่อคุณแม่ก็ยอมรับ แต่เนื่องจากมีผลการเรียนถึงแค่ ม. 5 กลางเทอมซึ่งน้อยไป อาจารย์ผู้วิเคราะห์/แนะแนวจึงบอกสาขาศึกษาที่สอดคล้องได้คร่าวๆ ต้องรอให้ทราบผลการเรียนของชั้น ม. 5 ทั้งปี แล้วค่อยเอาผลการเรียนมาวิเคราะห์อีกครั้งหนึ่ง อาจารย์แนะแนวได้แนะนำวิธีการเรียนและบริหารจัดการตนเองเพื่อให้ได้ผลการเรียนดีขึ้นและไม่เครียดเหมือนที่ผ่านมา ทำตามที่อาจารย์แนะนำ ปรากฎว่าหายเครียดและผลการเรียนตอนสิ้นปีของ ม. 5 ดีขึ้นมาก จนครูต่างแปลกใจและถามว่าไปทำอะไรมา จึงบอกครูว่า ไปเข้าโปรแกรมแนะแนวของสถาบันฯ HMD เมื่อรู้ผลการเรียนของ ม. 5 แล้ว อาจารย์วิเคราะห์และแนะนำให้เรียนสาขาการจัดการการท่องที่ยว สอบติดหลายแห่ง เลือกเรียนที่มหาวิทยาลัยบูรพาเพราะอยู่ใกล้บ้าน มีความสุขกับการเรียนมากและเรียนได้ดี เป็นโปรแกรมการแนะแนวฯ ที่ดีมากและคุ้มค่ามาก

ทำไมคนจำนวนมากจึงเลือกสาขาศึกษา “ผิด”

          จากประสบการณ์ในการทำงานด้านการบริหารและการพัฒนาทรัพยากรบุคคลในบริษัทขนาดใหญ่มาเป็นเวลาหลายสิบปี ผู้ก่อตั้งสถาบันแนะแนวการศึกษาและอาชีพ HMD และคณะที่ปรึกษาผู้วิเคราะห์และให้คำแนะแนวฯ สรุปได้ว่า เกินกว่า 50% ของผู้ที่มารับการสัมภาษณ์เพื่อคัดเลือกว่าจ้างในตำแหน่งที่ต้องใช้วุฒิปริญญาตรีบรรจุ เลือกสาขาศึกษา “ผิด” ทำให้ไม่ได้รับการคัดเลือกเพื่อว่าจ้าง การเลือกสาขาศึกษา “ผิด” จะเป็นกรณีใดกรณีหนึ่งดังนี้

  1. เลือกสาขาฯ ที่ไม่สอดคล้องกับความถนัดโดยธรรมชาติในการเรียนของตน

  2. เลือกสาขาฯ ที่ไม่สอดคล้องกับบุคลิกภาพ (ลักษณะต่างๆ) ของตน

  3. เลือกสาขาที่สอดคล้องกับความถนัดฯ แต่ไม่สอดคล้องกับบุคลิกภาพของตน

  4. เลือกสาขาที่สอดคล้องกับบุคลิกภาพของตนแต่ไม่สอดคล้องกับความถนัดของตน

  5. เลือกสาขาที่ไม่สอดคล้องทั้งความถนัดฯ และบุคลิกภาพของตน

เลือกสาขาศึกษา “ผิด” มาจากสาเหตุดังต่อไปนี้

wrong reason

1. เลือกสาขาตามค่านิยมหรือกระแสนิยม หรือความเชื่อว่า จบสาขานี้ หางานง่าย เงินเดือนดี

2. เลือกสาขาตามความต้องการของผู้ปกครอง หรือที่ผู้ปกครองแนะนำ

3. เลือกสาขาตามเพื่อนๆ แฟน เลือกตามคำแนะนำของรุ่นพี่หรือคนรอบข้าง

4. เลือกเพราะคิดว่าขอให้ Admission/ Entrance ติดไว้ก่อน

          ไม่ว่าจะเลือกสาขาผิดเพราะเหตุใดก็ตาม แต่สาเหตุที่แท้จริง คือ ผู้นั้นไม่รู้จักตัวตนดีพอในด้านความถนัดโดยธรรมชาติในการเรียน และไม่รู้ดีพอว่า ตนมีบุคลิกภาพอะไรบ้างที่เป็นจุดเด่น/จุดแข็ง และบุคลิกภาพอะไรบ้างที่เป็นจุดด้อย/จุดอ่อน และถึงแม้ว่าพอจะรู้ความถนัดฯ ในการเรียนประกอบกับบุคลิกภาพของตน แต่ก็ไม่รู้ดีพอว่า ความถนัดฯ และบุคลิกภาพของตนนี้สอดคล้องกับสาขาศึกษาไหนบ้าง สอดคล้องมากน้อยแค่ไหน

คำพูดที่เป็นกับดัก ในการเลือกสาขาศึกษา

เลือกเรียนในสาขาศึกษาที่ชอบ

จะรู้ได้อย่างไรว่าชอบเพราะยังไม่ได้เข้าไปเรียน ไปสัมผัส อีกอย่างหนึ่ง หากรู้สึกว่าชอบแต่ไม่ค่อยมีความถนัดในการเรียน ความทุกข์ยากในการเรียน การสอบ ก็จะเกิดขึ้น ผลการเรียนคงไม่ดีพอ แล้วก็อยาก Admission/Entrance ใหม่ หรือทนเรียนไปจนจบอย่างทุลักทุเล อนาคตการหางาน การทำงานอาชีพคงจะทุลักทุเล มืดมน เช่นกัน

เลือกสาขาที่จบแล้วหางานง่าย เงินเดือนสูง

ดูเผินๆ เหมือนจะใช่ หากคุณมีเพียงความถนัดที่จะเรียนได้ดี แต่บุคลิกภาพคุณ ไม่ใช่/ไม่สอดคล้อง คุณก็ไม่มีความสุขในการเรียน ทำให้แรงจูงใจโดยธรรมชาติในการเรียนถูกบั่นทอนตลอดเวลา ยิ่งเมื่อจบมาแล้วต้องทำงานอาชีพอยู่กับสิ่งคุณที่ไม่ชอบ ชีวิตก็คงเครียด ขาดแรงจูงใจในการทำงาน อับเฉาอยู่เนืองๆ จึงเกิดลักษณะที่ว่า “ชอบ” กับ “ ใช่” ไม่เหมือนกัน

แต่ถ้าคุณไม่มีความถนัดในการเรียนดีพอ โอกาสที่คุณจะสอบ Admission ได้ก็มีน้อย และถึงจะ Admission ได้ โอกาสที่จะเรียนได้ดีคงมีน้อย ดังนั้น โอกาสที่จะหางานดีๆ ได้ คงมีน้อยตามไปด้วย

เลือกสาขาไหนก็ได้ขอให้ Admission/Entrance ติดไว้ก่อน

กรณีนี้มักปลอบใจตนเองว่า จบแล้วคงพอมีงานทำ หรือ ยึดถือคติว่า “ไปตายเอาดาบหน้า” แล้วก็ตายจริงๆ แต่เป็นการตายทั้งเป็น เพราะอะไรที่ง่ายๆ ย่อมไม่มีคุณค่าดีๆ เมื่อคุณจบ คุณจะมีความยากลำบากในการหางานอาชีพตามที่เรียนมา เงินเดือนต่ำ ความมั่นคงต่ำ มองไม่ค่อยเห็นอนาคตที่สดใส ชีวิตหดหู่ เศร้าหมอง รู้สึกมีปมด้อย

เลือกสาขาไหนก็ได้ ขอให้ตั้งใจมีความพยายามในการเรียนจะดีเอง

กรณีนี้ ก็คล้ายๆ กับคำพังเพยที่ว่า”ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั่น” ซึ่งนอกจากไม่จริงเสมอไปแล้ว ยังทำให้ชีวิตหลงทางได้ง่าย โดยเฉพาะในการเลือกสาขาศึกษา คุณคงประจักษ์ได้จากประสบการณ์ของคุณเองในการเรียนวิชาที่คุณมีความถนัดน้อย แม้ว่าคุณจะใช้ความพยายามทุกอย่างแล้วแต่ก็ยังไม่เข้าใจอีก ผลการเรียนไม่ดี ดังนั้น คำพังเพยสำหรับกรณีนี้จึงไม่เป็นจริง และทำให้ชีวิตหลงทางได้โดยง่าย

wrong happen

เลือกสาขาศึกษาผิด แล้วจะเป็นอย่างไร

1. ในขณะเรียน ม. ปลาย ต้องคร่ำเคร่งในการเรียน เรียนพิเศษ กวดวิชาเกินความจำเป็น ทำให้มีความเครียดทั้งจิตใจและร่างกายอยู่เนืองๆ และเป็นภาระของผู้ปกครองเกินความจำเป็นในการรับส่งและค่าใช้จ่าย

2. ความกังวลมาก ขาดความมั่นใจในการ Admission/Entrance

3. โอกาส Admission/Entrance ได้ มีน้อย

4. หาก Admission/Entrance ได้ มักจะเรียนอย่างไม่มีความสุข และมักจะต้อง Admission/ Entrance ใหม่ ในปีถัดไป ทำให้เสียเวลาและเสียโอกาสของชีวิตและสูญเสียค่าใช้จ่ายในการเรียนไป 1 ปี

5. หากทนเรียนไปจนจบ มักจบด้วยผลการเรียนไม่ค่อยดีหรือไม่ดีพอ ทำให้หางานอาชีพยาก และมักได้งานไม่ค่อยดี ทำงานอย่างไม่มีความสุข แรงจูงใจในการทำงานต่ำ อนาคตไม่สดใส

6. เป็นการยากมากหากจะเปลี่ยนสาขาศึกษาไปเรียนสาขาอื่นเมื่อจบแล้ว ดังนั้น ชีวิตจึงเสียหลักไปเรื่อยๆ (เว้นแต่จะเป็นคนโชคดีมากๆ ซึ่งมีอยู่น้อยนิด)

right-select

อย่างไรที่ว่าเลือกสาขา “ที่ใช่” สอดคล้องกับความถนัดในการเรียน และสอดคล้องกับบุคลิกภาพของคุณ

1. ไม่ต้องคร่ำเคร่งในการเรียน การเรียนพิเศษ การกวดวิชา เกินความจำเป็น

2. จิตใจและร่างกาย ไม่เคร่งเครียดเกินไป

3. ผู้ปกครองมีภาระน้อยลงในการรับส่ง และค่าใช้จ่ายในการเรียนพิเศษ/กวดวิชา

4. มีความมั่นใจในการ Admission/Entrance มากขึ้น และโอกาส Admission/Entrance ได้ มีมากขึ้น

5. เมื่อ Admission/Entrance ได้ จะเรียนอย่างมีความสุข มีแรงจูงใจในการเรียนสูง ผลการเรียนจะดีพอสำหรับการได้งานอาชีพที่ดีเมื่อจบการศึกษา

6. ในขณะเรียนมหาวิทยาลัย จะมองเห็นและมั่นใจในอนาคตที่ดีของตน

7. เป็นแบบอย่างที่ดีของรุ่นน้องและผู้อื่น สามารถให้คำแนะนำที่ดีมากๆ แก่ผู้อื่น

8. ผู้ปกครองและคนรอบข้างมีความสุข มีความภูมิใจในตัวเรา

9. ในอนาคตมีความสามารถที่จะตอบแทนพระคุณของผู้ปกครองและผู้อื่นได้เป็นอย่างดี

10. มีโอกาสสูงที่จะประสบความสำเร็จในชีวิต

11. มีโอกาสสูงที่จะเป็นพลเมืองที่ทรงคุณค่าของประเทศ

โปรแกรมการแนะแนวของสถาบันแนะแนวฯ HMD ให้อะไรท่าน

  1. ท่านจะได้รับรายงานคำแนะแนวและคำแนะนำ ซึ่งระบุถึง

  1.1 ความถนัดโดยธรรมชาติของท่านในการเรียน/การศึกษา

  1.2 ลักษณะบุคลิกภาพ (ความรู้สึกนึกคิดและลักษณะพฤติกรรม) ของท่านด้านต่างๆ ที่สอดคล้อง/ไม่สอดคล้องกับสาขาศึกษาสาขาต่างๆ

  1.3 สาขาศึกษาต่างๆ ที่สอดคล้อง/ไม่สอดคล้อง (ในระดับต่างๆ) กับความถนัดในการเรียน/การศึกษา และสอดคล้องกับบุคลิกภาพของท่าน เพื่อที่ท่านจะพิจารณาได้ง่ายในการเลือก

  1.4 ได้รับคำแนะนำอย่างดีในการเตรียมตัว Admission/Entrance

  1.5 ได้พูดคุยปรึกษาและสอบถามข้อสงสัยต่างๆ กับผู้เชี่ยวชาญที่ให้คำแนะแนว

  2. ขจัดความไม่แน่ใจ ความสับสน ความกังวล ความเครียด ในการเลือกสาขาศึกษา

  3. ขจัดหรือลดระดับความคิดเห็นที่ไม่ตรงกันในการเลือกสาขาศึกษาระหว่างท่านกับผู้ปกครอง

  4. ลดความเหนื่อยล้า และความสิ้นเปลืองเงินและเวลา ในการเตรียมตัว Admission/Entrance เช่น การกวดวิชา/เรียนพิเศษมาก

  5. มีโอกาสสูงขึ้นที่จะ Admission/Entrance ได้

  6. ไม่หลงทาง (เลือกสาขาผิด) ในการเลือกสาขาศึกษา ซึ่งการหลงทางจะทำให้สูญเสียเงิน เสียเวลา เสียโอกาส เสียกำลังใจ และมีโอกาสสูงที่จะเสียหลักหรือหลงทางชีวิตได้ง่าย

  7. หากท่านเลือกสาขาตามคำแนะนำ ท่านจะเรียนอย่างมีความสุขและมีโอกาสสูงมากที่ท่านจะเรียนได้ดี

  8. ผลจากข้อ 7 เมื่อจบการศึกษา ท่านมีโอกาสสูงมากที่จะได้งานอาชีพที่ดี และโดยธรรมชาติแล้ว ท่านจะทำงานอย่างมีความสุข มีความมั่นคงก้าวหน้าเป็นอย่างดีในงานอาชีพ เพราะมันเป็นสิ่งที่ใช่ (สอดคล้องกับธรรมชาติของท่าน) สำหรับท่าน “ไฟ” ในการทำงานของท่านจะลุกโชนตลอด (มันอาจลดลงบ้างในบางเวลาหากเจอสภาพแวดล้อมที่ไม่ดีหรือไม่เหมาะกับท่าน แต่จะไม่มีวันดับ และจะกลับมาลุกโชนได้โดยง่าย)

  9. ผลจากข้อ 7, 8 จะทำให้ท่านมีโอกาสสูงที่จะค้นพบตัวเองได้โดยเร็ว ซึ่งจะทำให้ท่านมีความสุข ความภาคภูมิในชีวิตและเป็นแบบอย่าง (idol) สำหรับคนอื่นๆ

hmd-program

โปรแกรมการแนะแนวการเลือกสาขาศึกษา/ค่าบริการ

hmd-program-select

สำหรับผู้ที่เรียน ม.ปลาย สายวิทยาศาสตร์

ค่าบริการแนะแนว 4,000 บาท

ได้รับรายงานคำแนะแนวครอบคลุมทั้งสาขาที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ (เช่น แพทยศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ ด้านการเกษตรฯลฯ) สาขาภาษาศาสตร์ สาขาด้านสังคมศาสตร์ และสาขาด้าน/เกี่ยวกับการบริหาร/การจัดการ

hmd-program-select

สำหรับผู้ที่เรียน ม.ปลาย สายศิลปศาสตร์ (คำนวณ/คณิตศาสตร์)

ค่าบริการแนะแนว 3,500 บาท

hmd-program-select

สำหรับผู้ที่เรียน ม.ปลาย สายศิลปศาสตร์ (ภาษาศาสตร์)

ค่าบริการแนะแนว 3,500 บาท

โปรแกรมการแนะแนวนี้ได้รับการจดลิขสิทธิ์จากกรมทรัพย์สินทางปัญญาแล้ว

สาขาที่การแนะแนวนี้ไม่ครอบคลุม ในการให้บริการ

1. สาขาด้าน/เกี่ยวกับศิลปกรรมต่างๆ ที่ต้องใช้ความถนัดฯ ทางศิลปกรรม เช่น สถาปัตยกรรมศาสตร์ นิเทศศิลป์ การดนตรีฯ (แต่อาจให้คำปรึกษากว้างๆ ได้)

2. สาขาที่มีการสอนโดยเฉพาะ เช่น สาขาของโรงเรียนนายร้อย ทหาร ตำรวจ

3. การแนะแนวนี้ไม่ได้นำปัจจัยด้านจิตใจและลักษณะทางร่างกายมาร่วมพิจารณา (แต่จะให้คำแนะนำถึงข้อจำกัดของลักษณะทางร่างกายต่อสาขาศึกษาที่ให้คำแนะแนว)

วิธีสมัครเข้ารับการแนะแนว

การชำระเงิน และการเข้าระบบบริการ

  1. ชำระค่าบริการโดยโอนเงินค่าบริการตามโปรแกรมที่ต้องการแนะแนว ให้บริษัท เอช เอ็ม ดี คอนซัลแตนท์ จำกัด ทางธนาคาร ดังนี้

  ◦ ธนาคาร กรุงศรีอยุธยา สาขาลาดพร้าว 102 เลขบัญชี 169 0 02004 9

  2. เมื่อโอนเงินชำระค่าบริการแล้ว ขอให้ส่ง email หรือ line ให้บริษัท/สถาบันทราบพร้อมภาพถ่าย Slipใบโอนเงิน บริษัท/สถาบันฯ จะส่งใบเสร็จรับเงินค่าบริการให้ท่านทางไปรษณีย์

  3. เมื่อบริษัท/สถาบันฯ ได้รับเงินค่าบริการแล้ว บริษัท/สถาบันจะส่งข้อมูลและ password ทาง email เพื่อให้ท่านเตรียมตัวและเข้าไปกรอกข้อมูลทาง internet

  4. โดยทั่วไปประมาณ 2 สัปดาห์ ท่านจะได้รับรายงานคำแนะแนวและคำแนะนำ ในกรณีที่ในช่วงนั้นมีผู้ใช้บริการคับคั่ง ท่านอาจได้รับรายงานฯ ช้าไปบ้าง แต่มีเวลาเตรียมตัว Admission/ Entrance เพียงพอ

สถาบันแนะแนวการศึกษาและอาชีพ HMD

     สถาบันแนะแนวการศึกษาและอาชีพ HMD เป็นหน่วยงานของบริษัท เอช เอ็ม ดี คอนซัลแตนท์ จำกัด ซึ่งบริษัทฯ เป็นผู้ให้บริการปรึกษาเกี่ยวกับ

  ◦ การจัดการองค์กร (Organization Management)

  ◦ การพัฒนาองค์กร (Organization Development)

  ◦ การจัดการทรัพยากรบุคคล (Human Resources Management)

  ◦ การพัฒนาทรัพยากรบุคคล (Human Resources Development)

  ◦ การบัญชีและภาษีอากร

  ◦ การสอบบัญชีรับอนุญาต (Public Auditing)

     จากประสบการณ์ของผู้บริหารบริษัทฯ กว่า 30 ปี เกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรบุคคลและการพัฒนาทรัพยากรบุคคลในบริษัทขนาดใหญ่หลายแห่ง ทำให้ทราบอย่างชัดเจนถ่องแท้ถึงองค์ประกอบสำคัญที่สุด 2 ประการ ที่เป็นพื้นฐานทำให้บุคคลประสบความสำเร็จในการเรียนสาขาต่างๆ และในการทำงานอาชีพตามที่จบการศึกษามา คือ ความถนัดโดยธรรมชาติในการเรียน และบุคลิกภาพของผู้นั้น ที่สอดคล้องเหมาะสมกับสาขาที่เรียนและตำแหน่งงานนั้นๆ บริษัทฯ ได้ใช้เวลากว่า 20 ปี ในการสร้างและพัฒนาวิธีการค้นหาความถนัดในการเรียน รวมถึงสร้างและพัฒนาวิธีการสำรวจหาบุคลิกภาพสำหรับนักเรียน/นักศึกษาไทย และได้ทดสอบวิธีการดังกล่าวนี้จนเชื่อมั่นได้ว่า มีความแม่นยำสม่ำเสมอ จึงตั้งสถาบันแนะแนวการศึกษาและอาชีพขึ้นมาเพื่อให้บริการแนะแนวการเลือกสาขาศึกษาในระดับปริญญาตรี ซึ่งนอกจากเพื่อป้องกันไม่ให้ผู้นั้นหลงทางแล้ว ยังระบุสาขาศึกษาสาขาต่างๆ ที่สอดคล้องเหมาะสมกับความถนัดในการเรียนละบุคลิกภาพของผู้นั้น

ที่ปรึกษาของสถาบัน

  • consult

    พล.ต.อ. วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี

    อดีตผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ

    consult

    คุณวรพงษ์ รวิรัฐ

    ประธานสถาบันพัฒนาวิชาชีพทรัพยากรบุคคล (IHPD)

    อดีตนายกสมาคมการจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทย (PMAT) 4 สมัย

    consult

    รศ.ดร. นิภา แก้วศรีงาม

    รองศาสตราจารย์ด้านจิตวิทยา

    อดีตผู้ช่วยอธิการบดี มหาวิทยาลัยรามคำแหง

ผู้บริหาร

คุณอวยชัย เกตุทองสุข

วท.บ. (สุขาภิบาล) ม. มหิดล

พบ.ม. (รัฐประศาสนศาสตร์) สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA)

อดีต

◦ ข้าราชการกรุงเทพมหานคร

◦ ข้าราชการสำนักงบประมาณ เป็นหน่วยงานที่ขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี

◦ ผู้จัดการฝ่ายบุคคลกลาง เครือ บมจ. มาบุญครองอบพืชและไซโล

◦ ผู้จัดการสำนักงานบริหารโครงการมาบุญครองเซ็นเตอร์

◦ ผู้จัดการอาคารศูนย์การค้าอัมรินทร์พลาซ่า

◦ ผู้จัดการฝ่ายบริหารทั่วไป บมจ. อัมรินทร์พลาซ่า

◦ กรรมการชมรมบริหารงานบุคคล รังสิต และรองประธานฝ่ายวิชาการ

◦ กรรมการสมาคมการจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทย (PMAT)

ปัจจุบัน

◦ กรรมการผู้จัดการบริษัท HMD CONSULTANT LTD.

◦ ผู้อำนวยการสถาบันแนะแนวการศึกษาและอาชีพ HMD

◦ ที่ปรึกษาในการจัดโครงสร้างองค์กร และการพัฒนาองค์กร

◦ ที่ปรึกษาในการจัดการและการพัฒนาทรัพยากรบุคคลของหลายบริษัท

◦ ที่ปรึกษาผู้วิเคราะห์และแนะแนวการเลือกสาขาระดับปริญญาตรี

◦ ที่ปรึกษาในการวิเคราะห์และแนะแนวการเลือกสายการเรียนต่อจากชั้นมัธยมต้น

◦ ที่ปรึกษาผู้ให้คำแนะแนวการบริหารจัดการตนเอง เพื่อให้เรียนอย่างมีความสุขและประสบความสำเร็จขณะเรียนระดับชั้นม.ต้น ม.ปลายและขณะศึกษาระดับวิทยาลัย มหาวิทยาลัย

◦ ที่ปรึกษาผู้วิเคราะห์และแนะแนวการเลือกงานอาชีพเมื่อจบปริญญาตรี

◦ ที่ปรึกษาผู้ให้คำแนะแนว/แนะนำวิธีทำงานอาชีพให้ประสบความสำเร็จ

◦ วิทยากรบรรยาย

     ◦ ด้านการพัฒนาองค์กร การจัดการทรัพยากรบุคคล การเป็นหัวหน้างาน/ผู้จัดการที่มีประสิทธิผล

     ◦ การเลือกสายการเรียนต่อจากชั้นมัธยมต้น

     ◦ การเลือกสาขาศึกษาในระดับปริญญาตรี

     ◦ การแนะแนวอาชีพ และการวางแผนอาชีพ

     ◦ การบริหารจัดการตนเองให้ประสบความสำเร็จ

ผู้บริหาร

คุณปิลันธนา เกตุทองสุข

บัญชีบัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับ 1) และได้รับพระราชทานเหรียญทอง ม. ธรรมศาสตร์

บัญชีมหาบัณฑิต ม. ธรรมศาสตร์

ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต (Public Auditor)

อดีต

◦ Semi-senior Auditor สนง. เอส จี วี ณ ถลาง

◦ Group Accounting Manager กลุ่ม บมจ. อัมรินทร์พลาซ่า

◦ Company Controller, ABB Power L.T.D.

◦ อาจารย์พิเศษของหลายมหาวิทยาลัย

ปัจจุบัน

◦ รองกรรมการผู้จัดการบริษัท เอช เอ็ม ดี คอนซัลแตนท์ จำกัด

◦ รองผู้อำนวยการสถาบันแนะแนวการศึกษาและอาชีพ HMD

◦ เป็นผู้สอบบัญชีของบริษัทต่างๆ

◦ เป็นที่ปรึกษา และวางระบบการเงิน การบัญชี ภาษีอากร และระบบงบประมาณภาคธุรกิจ

◦ วิทยากรบรรยายด้านการเงิน การบัญชี ภาษีอากร และระบบงบประมาณภาคธุรกิจ

◦ ผู้วิเคราะห์และให้คำแนะแนวผู้ที่จะเรียนสาขาการเงิน การบัญชี

◦ ให้การแนะแนวผู้ที่จะทำงานด้านการเงิน การบัญชี

ติดต่อเรา

Address

302/5 ซ.ลาดพร้าว 71 ถ.ลาดพร้าว แขวงคลองเจ้าคุณสิงห์

เขตวังทองหลาง กรุงเทพมหานคร 10310

Phone

โทรศัพท์ : 02-539-0355, 02-539-0423,
081-881-4197, 084-083-2103

อีเมล : [email protected]

โทรสาร : 02-539-1881